ค่านิยมหลักที่ 5 รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย (Preservation of Thai traditions and cultures)

ค่านิยมหลักที่ 5 รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย (Preservation of Thai traditions and cultures)

0 5313

_02การที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างแต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของบุคคลในชาติ หรือทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติได้ดีที่สุดคือวิถึชีวิตหรือการประพฤติปฎิบัติตนของคนที่เราเรียกว่าวัฒนธรรม ซึ่งหล่อหลอมให้คนในชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2

ประเทศไทยมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี แนวปฎิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ งดงาม และได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก สำหรับความหมายของวัฒนธรรม หมายถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดี วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่หล่อหลอมขึ้น  ได้รับการยอมรับ มีการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486)

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญได้แก่

  1. ภาษาไทย เรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ จนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
  1. ศาสนา ชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาประจำชาติ และถูกนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ มีพื้นฐานในพุทธศาสนา กระไรก็ตามสังคมไทยให้อิสรภาพแก่ทุกศาสนา ทำให้ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  2. การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ ตามสมัยและโอกาส โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะแต่งกายตามสมัยนิยม แต่เมื่อมีงานพิธีกรรมหรือพิธีสำคัญคนไทยมักจะแต่งการแบบไทยดั้งเดิมมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม
  1. ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรมเป็นต้น (http://www.kullawat.net/civic/)

p12วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่า การรักษาวัฒนธรรมไทยถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ซึ่งแสดงออกโดยการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย