Authors Posts by user

user

86 POSTS 0 COMMENTS

0 2034
ประวัตินักกีฬา
NATNICHA002

เด็กหญิงณัฐนิชา   ราชจำปี (มิ้ง) เริ่มเล่นบาสเกตบอลตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ตามพี่สาวที่เล่นบาสเกตบอลเป็นงานอดิเรกขณะนั้น และปีถัดมาจึงเริ่มซ้อมอย่างจริงจังกับเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมทีม ตำแหน่งที่ถนัดคือ Small Forward เนื่องจากเป็นคนที่ตัวบาง จึงไม่เน้นการเข้าปะทะ และมีความเร็วอยู่บ้าง บวกกับส่วนสูงที่สามารถหาตำแหน่งเข้าทำใต้แป้นและระยะกลางได้เป็นอย่างดี และเป็นผู้เล่นตัวหลักที่อายุน้อยที่สุดในทีมอีกด้วย

มิ้งเคยถูกจับตามองจากหลายสำนักในวงการบาสเกตบอลว่าอาจจะได้เป็นดาวดวงใหม่ประดับวงการบาสเกตบอลจังหวัดอุดรธานีก็เป็นได้ ทั้งความสามารถที่เกินอายุ และมีส่วนสูงที่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นที่ต้องการ แต่จุดอ่อนก็มีแค่การเข้าปะทะเท่านั้น จนโค้ชได้แนะนำให้ฝึกยิงไกลเผื่อไว้เพื่ออาจจะได้ช่วยเล่นในตำแหน่ง Shooting Guard ในอนาคต

NATNICHA003

เกียรติประวัติและรางวัลที่ได้รับ

– พ.ศ.2558 รองชนะเลิศการแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปีหญิง TOA cup 2015 กรมพลศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

– พ.ศ. 2559 ชนะเลิศ การแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปีหญิง สพฐ. สปอนเซอร์ไทยแลนด์แชมป์เปียนชิพ 2016 ระดับคัดเลือกตัวแทนจังหวัดอุดรธานี

– พ.ศ. 2559 อันดับที่ 3 การแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปีหญิง สพฐ. สปอนเซอร์ไทยแลนด์แชมป์เปียนชิพ 2016 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ศรีสะเกษ

0 1919
ประวัตินักกีฬา
Number 9

เด็กหญิงนันทกานต์   นันทเสน (ไอซ์) เป็นผู้เล่นตำแหน่งการ์ดจ่ายที่ไม่ได้โดดเด่นเรื่องความเร็วหรือความคล่องตัว แต่จะโดดเด่นเรื่องการป้องกัน และการสนับสนุนเพื่อนในการบุกจากการอ่านเกมที่แม่นยำ และเป็นหัวหน้าทีมวิสุทธิวงศ์อีกด้วย จากสถิติที่เป็นผู้เล่นที่เสีย Turnover น้อยที่สุด จึงทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่สามารถควบคุมสถานการณ์ของทีมได้เป็นอย่างดี

IMG_2233

 

20160119_145327

เกียรติประวัติและรางวัลที่ได้รับ

– พ.ศ.2558 รองชนะเลิศการแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปีหญิง TOA cup 2015 กรมพลศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

– พ.ศ. 2559 ชนะเลิศ การแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปีหญิง สพฐ. สปอนเซอร์ไทยแลนด์แชมป์เปียนชิพ 2016 ระดับคัดเลือกตัวแทนจังหวัดอุดรธานี

– พ.ศ. 2559 อันดับที่ 3 การแข่งขันบาสเกตบอลรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปีหญิง สพฐ. สปอนเซอร์ไทยแลนด์แชมป์เปียนชิพ 2016 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ศรีสะเกษ

0 1326

NVIDIA อาจเป็นผู้เล่นหลักในเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ แม้จะไม่มีโรงงานผลิตรถของตัวเอง

    ถึงแม้ว่า NVIDIA จะไม่ได้ผลิตรถยนต์อัจฉรัยะเป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า NVIDIA จะไม่ได้เป็นผู้เล่นคนสำคัญในธุรกิจนี้ เพราะพวกเขามีในสิ่งที่บริษัทผลิตรถยนต์ทั้งหลายไม่มี นั่นก็คือ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ที่จะสามารถแปลงรถธรรมดาๆ ให้กลายเป็นรถยนต์อัจฉริยะ ที่สามารถตรวจสอบและรับรู้ทุกความเคลื่อนไหวรอบๆ และภายในตัวรถ

มีการเปิดเผยรายละเอีดยของแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์อัจฉริยะ ในช่วงสุดท้ายของการพูดบนเวทีในงาน GPU Technology Conference ซึ่งจัดขึ้นในเมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น โดยทาง NVIDIA ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแพลตฟอร์มสำหรับรถยนต์อัจฉริยะ DRIVE ที่เลือกใช้ขุมพลังการประมวลผลจากชิป Xavier ที่ทาง NVIDIA ขนานนามให้ว่าเป็นชิปประมวลผลที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในโลก

NVIDIA อาจเป็นผู้เล่นหลักในเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ แม้จะไม่มีโรงงานผลิตรถของตัวเอง

BB8 คือชื่อของรถต้นแบบที่ทาง NVIDIA ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ

Xavier จะประมวลผลข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายนอก และภายในตัวรถ โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบ Deep neural networks เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่ ตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวรถ รวมถึงฟังก์ชั่นตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาคนขับ ฟังก์การรับคำสั่งจากท่าทาง และฟังก์ชั่นการเข้าใจคำสั่งจากภาษาพูด

รถอัจฉริยะตามแนวคิดของ NVIDIA จะมีการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ DRIVE IX ที่มีความสามารถในการแจ้งเตือนเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้รอบๆ ตัวรถ และมันยังคอยเฝ้าตรวจสอบคนขับรถ เพื่อดูว่ามีอาการหลับใน หรือเสียสมาธิในขณะขับรถหรือไม่

แลระบบ DRIVE Xavier ยังสามารถทำงานเป็นคนขับรถตัวสำรอง โดยสามารถเปิดระบบควบคุมให้ความเร็วรถคงที่ เปิดระบบให้รถรักษาการวิ่งอยู่ในเลนโดยอัตโนมัติ รวมถึงระบบการเปลี่ยนเลนอัตโนมัติ

ซอฟต์แวร์สามารถอัพเดทผ่านสัญญาณ Wi-Fi หรือ 4G เพื่อการเพิ่มเติมฟังก์ชั่นใหม่ๆ เข้าไปตลอดระยะเวลาการใช้งานของรถยนต์

NVIDIA อาจเป็นผู้เล่นหลักในเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ แม้จะไม่มีโรงงานผลิตรถของตัวเอง

และในขั้นตอนต่อไปบริษัท Pioneer ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ 3D LiDAR ที่ใช้ตรวจสอบสภาพถนนรอบตัวรถ ก็จะได้ร่วมงานกับทาง NVIDIA เพื่อการนำเซ็นเซอร์แบบ 3D LiDAR มาผสานรวมเข้ากับแพลตฟอร์ม DRIVE
ที่มา : bgr.com

0 1262

นักวิทยาศาสตร์พบซากตัวเห็บยุคไดโนเสาร์ในก้อนอำพัน แต่ก็อย่าเพิ่งนึกถึง Jurassic Park กันนะ

นักวิทยาศาสตร์กำลังตื่นเต้นกับการค้นพบก้อนอำพันที่มีอายุใกล้ 100 ล้านปี และเรื่องราวนี้ดูคล้ายว่าจะเป็นจุดกำเนิดของเรื่องราวในภาพยนตร์ Jurassic Park เลยทีเดียว เมื่อมีซากเห็บตัวเล็กๆ ติดอยู่ในก้อนอำพันนี้ซะด้วย และในท้องของมันเต็มไปด้วยเลือดของไดโนเสาร์ที่มันไปดูดมา และถ้ามองว่าโลกนี้เปรียบเหมือนนิยาย การค้นพบครั้งนี้อาจนำไปสู่การคืนชีพของไดโนเสาร์ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ความหวังที่จะคืนชีพไดโนเสาร์มันช่างเลือนลางสิ้นดี

โดยนักวิทยาศาสตร์รายหนึ่งให้ข้อมูลว่า เจ้าเห็บตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่าที่ควรจะเป็นถึง 8 เท่า ด้วยความที่มันสูบเลือดไดโนเสาร์เข้าไปจนเต็มท้อง แต่น่าเสียดายที่มันถูกเก็บกักอยู่ในก้อนอำพันมาเป็นเวลายาวนานเกินไป จนทำให้ DNA ที่อยู่ในเลือดไดโนเสาร์ เกิดการเสื่อมสภาพจนไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการคืนชีพไดโนเสาร์ได้อีกต่อไป แต่การค้นพบก้อนอำพันนี้ก็ยังมีความสำคัญกับการศึกษาไดโนเสาร์ด้วยบางเหตุผล เพราะในก้อนอำพันนอกจากจะมีเจ้าเห็บยุคดึกดำบรรพ์แล้ว ก็ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในก้อนอำพันนี้

หนึ่งในรายการวัตถุที่น่าสนใจในก้อนอำพันคือ เส้นขนของไดโนเสาร์ ที่ไม่เพียงทำให้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานมากขึ้นเกี่ยวกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่มีเส้นขนปกคลุมตัว แต่มันยังอาจสามารถเชื่อมโยงหาความเกี่ยวพันระหว่างสิ่งมีชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน เข้ากับบรรพบุรุษของมันเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว และผลงานการวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Communications

น่าเสียดายที่การค้นพบครั้งนี้ทำให้แฟนๆ Jurassic Park ต้องผิดหวัง และเจ้าเห็บน้อยไม่สามารถคืนชีพไดโนเสาร์ ด้วยความที่ DNA ที่อยู่ในเลือดไดโนเสาร์ได้เสื่อมสภาพไปเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่า DNA ไม่สามารถคงสภาพพร้อมใช้งานไปได้ตลอดกาล ถึงแม้มันจะถูกเก็บเอาไว้อย่างมิดชิดแน่นหนาในก้อนอำพัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปโมเลกุลก็เกิดความเสียหาย แต่ก็ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าพอที่จะสามารถทำงานได้กับ DNA ที่เสื่อมสภาพ และ Jurassic Park อาจจะเกิดขึ้นได้จริง ก็เป็นได้
ที่มา : bgr.com

0 1077

นักวิทยาศาสตร์พบซากตัวเห็บยุคไดโนเสาร์ในก้อนอำพัน แต่ก็อย่าเพิ่งนึกถึง Jurassic Park กันนะ จินตนาการในนิยายวิทยาศาสตร์เกือบจะเป็นจริงแล้วเชียว เมื่อมีเลือดไดโนเสาร์อยู่ในตัวเห็บที่อยู่ในก้อนอำพัน

12046_17121415320724
NVIDIA อาจเป็นผู้เล่นหลักในเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ แม้จะไม่มีโรงงานผลิตรถของตัวเองเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับกำลังมาแรง ผู้ผลิตชิปประมวลผลอย่าง NVIDIA เลยกระโดดลงมาเล่นในตลาดนี้กับเขาด้วยนะ

0 920

 

ต่อเนื่องจากข่าวก่อนหน้านี้ หลังจาก Youtube ประกาศ Top Trending แห่งปี 2017 แล้ว ทาง Youtube ได้ปล่อยคลิปวีดีโอพิเศษ ที่เล่ารวมทุกเรื่องฮิต ที่โลกออนไลน์ติดตามและพูดถึง ผ่านทาง MV ชุดพิเศษ ในชื่อ Youtube Rewind  The Shape of 2017 ที่มีชาว Youtuber หรือคนดังบน Youtube  ทั่วโลก ร่วมแสดงด้วย

ซึ่ง Music Video พิเศษชุดนี้ ใช้เพลงฮิตๆ บวกกับเรื่องราวที่ติดตามที่ผู้ชม Youtube พูดถึง ปนกับเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในรอบปี 2017 นั่นเอง ลองชมกันว่ามีอะไรบ้าง หนึ่งในปรากฎการณ์เด่นคือ ปรากฎการณ์สุริยุปราคานั่นเอง และยังสามารถชมเบื้องหลังของคลิปวีดีโอชุดพิเศษนี้ได้ด้วย

ความจริงแล้วใน MV นี้ก็มีคลิปวีดีโอพิเศษ Easter Egg จากนักสร้างสรรค์บน Youtube เป็นของขวัญส่งความสุขแก่ผู้ชมส่งท้ายปี ลองคลิกชมที่ลิงค์นี้

 

0 1008

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนชมฝนดาวตกส่งท้ายปี 2560 “ฝนดาวตกเจมินิดส์” หรือ “ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่” ตั้งแต่เวลาประมาณ 20.30 น. คืนวันที่ 14 ธันวาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดย“ฝนดาวตกเจมินิดส์” สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคในบริเวณฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงรบกวน เผยปีนี้ฟ้าเป็นใจไร้แสงจันทร์รบกวน คาดตกสูงสุดเฉลี่ยถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า “ฝนดาวตกเจมินิดส์” หรือ “ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-17 ธันวาคมของทุก ๆ ปี คาดการณ์ว่าปีนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง ในคืนวันที่ 14 ธันวาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม 2560 สังเกตได้ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:30 น. จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดูได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ คืนวันที่ 14 ธันวาคมยังตรงกับช่วงข้างแรม ท้องฟ้าจะมืดสนิท ไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเป็นโอกาสดีที่จะสังเกตการณ์ฝนดาวตกได้เกือบตลอดทั้งคืน ซึ่งดวงจันทร์จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลาเช้ามืดวันที่ 15 ธันวาคม เวลาประมาณ 03:55 น.
นอกจากฝนดาวตกเจมินิดส์แล้วช่วงเดือนธันวาคมยังมีฝนดาวตกชุดอื่นให้ชมกันอีก เช่น ฝนดาวตกพัพพิดส์-เวลิดส์ ในคืนวันที่ 7 ธันวาคม อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง และฝนดาวตกเออร์ซิดส์ ในคืนวันที่ 22 ธันวาคม อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง ฯลฯ ถือเป็นเดือนส่งท้ายปีที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง

ภาพจำลองจุดศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตกเจมินิดส์ บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ คืนวันที่ 14 ธันวาคม

ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่ มีทิศทางพุ่งมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น
การชมฝนดาวตกเจมินิดส์ ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงไฟรบกวน จะสังเกตเห็นดาวตกที่มีความสว่างและสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจมาก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยสังเกตการณ์ ดูได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งการชมฝนดาวตกให้สบายที่สุดนั้น อาจใช้วิธีนอนรอชมหรือนั่งบนเก้าอี้ที่สามารถเอนนอนได้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยคอ เนื่องจากการรอชมฝนดาวตกจะใช้ระยะเวลายาวนานมาก หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนดาวตกเจมินิดส์จะปรากฏให้เห็นในทิศทางดังกล่าว ดร.ศรัณย์กล่าวปิดท้าย
ด้านนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ได้แนะนำเทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตกว่า “แนะนำให้ใช้กล้องที่สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ ปรับค่าความไวแสงสูงๆ ตั้งแต่ ISO 1600 ขึ้นไป เพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการบันทึกภาพฝนดาวตก ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง และใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้สามารถเก็บภาพท้องฟ้าให้ได้กว้างที่สุด หันหน้ากล้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศของศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตก บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่มครึ่ง ของวันที่ 14 ธันวาคม เป็นต้นไป”

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ได้ที่ www.NARIT.or.th หรือ www.facebook.com/NARITPage