Authors Posts by admin

admin

78 POSTS 0 COMMENTS

0 1267

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

0 3325

0 7473

1221

๑. ขยัน

ความขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทน ไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย

ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ ในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

 ประโยชน์ของการเป็นคนขยัน
1. ทำให้เรารู้จักรับผิดชอบหน้าที่ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย
2. ทำให้เราเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต
3. มีหลักฐานมั่นคง มีเกียรติดี เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
4. สามารถเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงาน

โทษของการไม่ขยัน

1. ทำให้เราเสียการเสียงาน  กลายเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง
2. ไม่เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น
3. ทำให้เกิดความยากจน ขัดสน
4. อาจหันไปประกอบอาชีพทุจริตแทน

สุภาษิต/คำคม
“มือที่ขยันขันแข็งจะทำให้มั่นคง แต่มือที่หย่อน เป็นเหตุให้เกิดความยากจน” (สภษ 10: 4 )
“น้ำขึ้นให้รีบตัก”
“จงทำตัวให้เป็นคนกระตือรือร้น”

“อย่าผัดวันประกันพรุ่ง  จงทำสิ่งที่ต้องทำเสียให้เสร็จ”
“เริ่มต้นวันใหม่ทุกๆ วัน ด้วยการทำสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องกระทำ ส่วนงานที่สำคัญรองลงไป ค่อยทำทีหลัง”

คนที่ขยันขันแข็งมักเป็นคนที่มีความเพียรพยายาม อีกทั้งยังเป็นคนที่ทำงานด้วยความสม่ำเสมอ องค์กร สังคม หรือประเทศใด ที่มีคนขยันขันแข็ง ก็จะมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคนที่ขยันขันแข็ง ย่อมเป็นที่รักและต้องการของทุกคน การฝึกฝนตนให้เป็นคนขยันสามารถทำได้ดังนี้

1. ปลูกฝังความเพียร ความเพียรพยายามเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ อีกทั้งทำให้เรามีนิสัยขยันขันแข็ง คนที่มีความเพียรไม่ได้หมายความว่าจะทำงานหักโหมแต่ตอนแรก แล้วตอนปลายก็ไม่ทำ แต่คนที่มีความเพียร มักเป็นคนที่ทำอะไรแล้วมีความสม่ำเสมอ

2. ต้องฝึกฝนตนเองให้ ททท. หรือทำทันที คนขยันขันแข็ง มักจะไม่ปล่อยให้งานที่จะต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้ แล้วนำไปทำในวันพรุ่งนี้ ไม่เป็นคนที่มีลักษณะนิสัยทำงานแบบ “ ดินพอกหางหมู ” แต่จะเป็นคนที่มีการวางแผนและการบริหารเวลาที่ดี มีการรู้จักลำดับความสำคัญของงานที่ตนเองทำ

3. มีความรักในงานที่ตนเองทำ มีความพยายามพยายามเมื่อพบอุปสรรคและมีจิตใจจดจ่อสนใจในงานที่ตนเองทำ รวมถึงหมั่นใคร่ครวญ วิเคราะห์ ไตร่ตรอง เพื่อพัฒนางานของตนให้ดีขึ้นเสมอ

4. มีเป้าหมายในการทำงานอันจะก่อให้เกิดความกระฉับกระเฉง มีความสุข และความสนุกสนานในการทำงาน

5. มีกระบวนการหรือระบบในการทำงาน จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นนั่นคือรู้จักวางแผน ประยุกต์ใช้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น

6. รู้จักควบคุมตนเองได้ปฏิเสธสิ่งที่ทำให้เสียเวลาในการทำงานเช่น การเล่น การพูดคุย จนทำให้งานสำคัญที่จะต้องทำเสียหาย การรู้จักบริหารเวลา เมื่อวางแผนจะทำงานชิ้นใดแล้วก็ต้องพยายามฝืนใจทำหรือควบคุมตนเองให้ทำให้เสร็จ

จากข้อความข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า ความขยันขันแข็ง เราสามารถสร้าง เราสามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้ ความขยันขันแข็งจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราเจริญก้าวหน้าในที่ทำงาน เป็นเครื่องมือสร้างอนาคต บุคคลใดก็ตาม ถึงแม้จะฉลาดหรือเก่งสักปานใด แต่มีนิสัยเกียจคร้าน บุคคลนั้นก็มักจะเจริญก้าวหน้าในที่ทำงานได้อย่างไม่มั่นคงและถาวร (www.drsuthichai.com)

 

1222

๒. ประหยัด

ความประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประหยัดคือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ

การประหยัด เป็นทางสายกลางของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เป็นคำที่อยู่ตรงกลางระหว่างคำว่าตระหนี่กับฟุ่มเฟือย คนตระหนี่มักไม่ยอมใช้จ่ายแม้ในสิ่งที่จำเป็น ส่วนคนฟุ่มเฟือยมักใช้จ่ายจ่ายที่เกินจำเป็น

สังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะฟุ่มเฟือย คือใช้สิ่งต่างๆ หรือบริโภคเกินความจำเป็น เช่น การใช้ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรไฟ มีการ เสพแสง สี เสียงที่เกินความจำเป็น จนมีคำกล่าวว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมบริโภคนิยม เยาวชนเสพสื่อและเลียนแบบไม่ว่าจะเป็นศัลกรรมใบหน้า การใช้สินค้าแบนด์เนม การเลียนแบบพฤติกรรม เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ มีเกียรติยศชื่อเสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยทั้งสิ้น

ความฟุ่มเฟือยย่อมนำมาซึ่งความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เช่นถ้าเราใช้ของที่ทันสมัยและมียี่ห้อราคาแพง ก็ทำให้หมดเงินไปมากเพราะของเหล่านี้จะมีออกมาขายอยู่เรื่อยๆ เราก็ต้องทิ้งของเก่าและซื้อของใหม่มาใช้อยู่เรื่อยๆ ยิ่งถ้าเราฟุ่มเฟือยมากๆ ก็แน่นอนว่าเงินย่อมไม่พอที่จะใช้จ่าย แล้วก็ต้องกู้เขามาใช้ เช่นใช้บัตรเครดิต แล้วก็ต้องเสียดอกแพง หรือมีหนี้สินท่วมตัว และเมื่อผู้คนเป็นเช่นนี้กันมากๆ ประเทศชาติหรือผู้คนส่วนรวมก็มีสภาพเดียวกัน คือกู้เงินต่างชาติเขามาใช้ และเสียดอกแพง มีหนี้สินท่วมตัว สุดท้ายก็ต้องตกเป็นทาสเขาด้วยความยินยอม คือยอมทำงานหนักเพื่อผลเพียงเล็กน้อย แต่ผลส่วนใหญ่เป็นของเจ้านายหมด

 คำขวัญ

  1. การประหยัด เป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
  2. น้ำประปามีค่าต่อชีวิตประหยัดกันสักนิด ช่วยเศรษฐกิจได้
  3. ทรัพยากรน้ำมีวันหมด ใฃ้ทุกหยดอย่างรู้คุณค่า.
  4. ขาดน้ำคงขาดใจ เมื่อมีใช้อย่าฟุ่มเฟือย
  5. น้ำทุกหยดนั้นมีค่า ต้องรักษาเท่าชีวีประหยัดทุกนาที มอบสิ่งดีคืนโลกเรา

 

1223

๓. ซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

 “ในโลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการหลั่งไหลเข้ามาของวัตถุนิยมสู่สังคมไทยมีให้เห็นมากขึ้น ผู้คนเริ่มหลงใหลในวัตถุนิยมและความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต โดยไม่คิดถึงผู้อื่น จึงทำให้สังคมเกิดความวุ่นวายแก่งแย่งแข่งขันกันเพราะขาดคุณธรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเพราะคุณธรรมข้อนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี และสังคมมีความสุข” (https://blog.eduzones.com/anisada/125004)

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมสำคัญสำหรับสังคมปัจจุบัน สังคมใดที่มีคนซื่อสัตย์สังคมนั้นย่อมเกิดความสงบสุขและสันติ ความซื่อสัตย์จึงเป็นวิธีแห่งความอยู่รอดและความสงบสุขของสังคม บ้านเมือง ประเทศชาติและโลกทั้งมวล ที่เราต้องปลูกฝังให้คนในชาติ โดยเริ่มตั้งแต่เด็ก คงไม่เป็นการกล่าวไกลเกินความจริงไปว่า การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมเรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริตต้องสร้างตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะนิสัยความซื่อสัตย์สุจริตจะเริ่มต่อตัวขึ้นจากความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่  ญาติพี่น้องใกล้ชิดได้แสดงออกและให้แก่เด็ก    เด็กก็จะแสดงความรัก  ความเชื่อถือไว้วางใจตอบสนองเช่นเดียวกัน และเด็กจะเชื่อ และเอาอย่างทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งคนที่ตัวเองรักและไว้ใจทำให้ดูหรือแสดงให้เห็น พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบ เมื่อเข้าสู่วัยเรียนนักเรียนยังได้รับการปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต แม้เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องมีการปลูกฝังไปจนตลอดชีวิต  แต่ลักษณะและวิธีการปลูกฝัง  จะต้องแตกต่างกันไปตามวัยและวุฒิภาวะของแต่ละคน ที่แตกต่างกัน

คำคม

  1. ความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมนำมาซึ่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจเสมอ
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต จะทำให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานที่
  3. ความซื่อสัตย์สุจริต ความกล้าหาญ พากเพียร บากบั่น เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ
  4. ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
  5. เมื่อได้รับความวางใจ จงรักษามันไว้ให้ดี เพราะหากมันสูญเสียไป ก็ยากยิ่งนักที่จะได้รับกลับคืน
  6. คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้ เพราะความซื่อสัตย์
  7. ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมประจำตนที่ต้องปลูกฝังไปตลอดชีวิต


1224
 

๔. มีวินัย

ความมีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ

เอกสาร ชุดการปลูกฝังและเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานการมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ได้แบ่งวินัยไว้ 3 ประเภทดังนี้

1.  ระเบียบวินัยในการศึกษาเล่าเรียน หมายถึง การที่นักเรียนสามารถควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบแบบแผน มีเหตุผลและเป้าหมายในการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง  โดยการจัดตารางเวลาไว้สำหรับศึกษาเล่าเรียนและการควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตามตารางดังกล่าวได้ มีความตั้งใจเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ วิชา มีการเตรียมตัวอ่านบทเรียนมาก่อนที่จะถึงเวลาเรียนและทบทวนบทเรียนทุกครั้งภายหลังจากการเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ไม่ลอกคำตอบจากเพื่อน อีกทั้งต้องไม่เปิดโอกาสหรือยินยอมให้เพื่อนลอกคำตอบในเวลาสอบ มีการเตรียมอุปกรณ์การเรียนอย่างครบถ้วนและพร้อมสำหรับการใช้อยู่ตลอดเวลา

2. ระเบียบวินัยในที่อยู่อาศัยหมายถึง การที่นักเรียนสามารถควบคุมตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  มีการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยให้น่าอยู่ ไม่รับประทานอาหารในห้องนอน  จัดแบ่งเนื้อที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งต้องไม่คุย หัวเราะ จัดงานสังสรรค์ ตลอดทั้งการเปิดโทรทัศน์เสียงดังรบกวนผู้อื่น

 3. ระเบียบวินัยในสังคม หมายถึง การที่นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบแบบแผน ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม เคารพปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับของสังคม รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ ละเว้น การใช้อภิสิทธิ์โดยรับบริการและให้ บริการที่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง อีกทั้งมีมารยาทในการใช้ถนน การขับขี่ยานพาหนะ โดยการปฏิบัติตามกฎจราจร และมีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เมื่อรู้เห็นการกระทำผิดระเบียบวินัยและกฎหมาย

อ้างอิง https://mewinine.wordpress.com/ประเภทของ-วินัย/

คำคม

  1. มุ่งมั่น มานะ ไม่ลดละ พยายาม
  2. ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย(จอมพล ถนอม กิตติขจร )
  3. เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนักคิดเสมอว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
  4. อย่าตามใจตนเองเรื่องยุ่ง  ๆ  เกิดขึ้นล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น
  5. ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
  6. ระเบียบวินัยคือ  คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
  7. วินัยคือสะพานที่เชื่อมระหว่างเป้าหมายและความสำเร็จ!” (Discipline is the bridge between goals and accomplishment.) -Jim Rohn-
  8. ความมีวินัย คือรากฐานของความสำเร็จ


1225

๕. สุภาพ

สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

ผู้ที่สุภาพถ่อมตน ไม่ใช่ผู้ที่แพ้พ่าย อ่อนแอ  แต่เป็นคุณสมบัติของบุคคลที่ยิ่งใหญ่  พระสันตะปาปา ฟรังซิสทรงเป็นแบบอย่างแห่งความสุภาพถ่อมตน เมื่อได้รับการเลือกตั้งท่านขอให้คริสตชนสวดภาวนาเพื่อพระองค์ท่าน  โธมัส ฮาร์ดี้ (Thomas Hardy) นักเขียนที่มีชื่อเสียงหาตัวจับยากชนิดที่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับพร้อมจ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อแลกกับผลงานของเขา  แต่เขากลับส่งผลงานพร้อมกับซองเปล่าติดแสตมป์จ่าหน้าถึงตัวเอง เผื่อว่ากองบรรณาธิการจะไม่ตีพิมพ์ผลงานของเขา

แนวทางเพื่อเป็นผู้ความสุภาพถ่อมตน คือการตระหนักว่าแม้เราจะมีความรู้มากมาย แต่เมื่อเทียบกับความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกจักรวาล  ความรู้ของเรามีน้อย เรามีอีกหลายอย่างที่ยังไม่รู้ เราจึงต้องมีความสุภาพถ่อมตนอยู่เสมอ นอกจากนี้การเปรียบเทียบกับผู้ที่เก่งกว่า คนที่เรียนเก่งกว่าเรา คนที่เล่นดนตรี กีฬาที่เก่งกว่าเรา รวมถึงคนที่มีความสามารถมากกว่าเรา จะทำให้เราสุภาพถ่อมตนและมีใจใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนอยู่เสมอ

คำคม

  1. พึงชนะผู้น้อยด้วยการให้พึงชนะผู้ใหญ่ด้วยความอ่อนโยน
  2. ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้ให้กำเนิด โดยมิอ้างเป็นเจ้าของ บำรุงเลี้ยงโดยมิถือเป็นบุญคุณ เกื้อกูลโดยมิก้าวก่าย
    ไม่นำความยิ่งใหญ่ ไปแทรกแซงขู่เข็ญบังคับใคร
  3. อ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้คนเจริญ เย่อหยิ่งจองหองทำให้คนตกต่ำ
  4. ข้าวรวงลีบมักชูช่อชี้ฟ้า ข้าวรวงหนาโน้มช่อลงต่ำ ดั่งคนไม่ดีมักอวดดีถือตน ปราชญ์รู้จนถ่อมตนคนเมตตา
  5. ทะเลลึกน้ำนิ่ง คนรู้จริงถ่อมตน

 


1226

๖. สะอาด

ความสะอาด (Clean) คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ

โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของนักเรียน เพราะชีวิตวัยเรียนแต่ละวันจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่โรงเรียน  เราจึงต้องดูแลโรงเรียนของเราให้สะอาด ในโรงเรียนมีภารโรงหรือเจ้าหน้าทีช่วยดูแลความสะอาดของโรงเรียนและบริเวณรอบๆ โรงเรียนของเราจึงมักจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ใครที่มาเยี่ยมชมโรงเรียนของเรามักจะกล่าวเช่นนั้น คณะซิสเตอร์ คณะครู มักจะอบรมพวกเราเรื่องความสะอาดทั้งภายนอกและภายใน คือใจที่สะอาด ปราศจากสิ่งชั่วร้ายหรือบาป

ดังนั้น ความสะอาดมิใช่เป็นแค่ลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่ความสะอาดเป็นหลักจรรยาครอบคลุมการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี ความสะอาดยังเป็นสภาพของจิตใจและหัวใจที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและจริยธรรม ให้เรารักษากายใจ สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา เราให้สะอาด อยู่เสมอ

คำคม

  1. เราคนไทยใจสะอาด
  2. ความสุขหาได้ง่าย เมื่อมีใจใสสะอาด
  3. ร่วมใจกันสะสาง สร้างงานอย่างสดใสสะอาดและปลอดภัย สร้างนิสัยด้วย 5ส
  4. สะอาด สะดวก สะสาง เป็นวิถีทาง สร้างสุขนิสัยที่ดี


1227

๗. สามัคคี

ความสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวถึงความสามัคคีว่าเป็นคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยสังคมขนาดเล็ก ระดับครอบครัว ระดับองค์กร หรือขนาดใหญ่ระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก ความสามัคคีช่วยเกื้อหนุนให้กิจการงานที่ทำร่วมกันประสบความสำเร็จตามความประสงค์ ทุกคนเกิดความพึงพอใจ บรรลุเป้าหมายร่วมกัน มีพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เกิดความเจริญก้าวหน้า แม้ว่าความสามัคคีจะเป็นคุณธรรมพื้นที่ทุกทุคนต่างยอมรับ แต่ความสามัคคีที่แท้จริงที่จะมีพลังสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามและคุณูปการแก่สังคมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น ต้องเป็นความสามัคคีบนฐานความดี ความงาม และความจริง ยึดผลประโยชน์ของสังคมและส่วนรวมเป็นสรณะ ประสานการำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีเอกภาพ มีจิตใจทุ่มเทเสียสละ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ช่วยเหลือเกื้อกูล ยึดมั่นมนระบบคุณธรรม และทำงานอย่างเต็มกำลัง เต็มศักยภาพ พลังทวีคูณของความสามัคคีเช่นนี้ จะช่วยขับเคลื่อนพัฒนาประเทศชาติ บ้านเมืองให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างมีพลังมากขึ้น

คำคม

  1. อยู่ร่วมกันที่สำคัญคือน้ำใจ อยู่กับคนหมู่ใหม่ จงจำไว้ ต้องสามัคคี
  2. สามัคคีคือพลัง ทำให้โลกเราสงบสุข
  3. รู้รักสามัคคี ทำดีเพื่อบ้านเมือง
  4. คนไทยทุกถิ่นที่สามัคคีปรองดองกัน รักใคร่สมานฉันท์ สถาบันชาติมั่นคง
  5. Alone we can do so little; together we can do so much.
  6. United we stand, divided we fall (รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย)
  7. Mankind can find happiness only in unity, not in diversity


1228

๘. มีน้ำใจ

ความมีน้ำใจ (Kindness) คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

คนมีน้ำใจหรือมีใจเอื้อเฟื้อ คือ คนที่มีเมตตา มีความหวังดีต่อสรรพสัตว์อยู่เสมอ และพยายามที่จะทำ พูด คิด ในสิ่งที่สร้างสรรค์ คนมีน้ำใจมีลักษณะดังนี้

  1. มีความเมตตา คือ มีความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี หวังดีต่อผู้อื่น ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และความสุข ความมีเมตตา เป็นสิ่งที่จะชำระความโกรธ ความโมโหในใจ
  2. มีความกรุณา คือ ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ความกรุณา จะชำระความโหดร้าย ความคิดเบียดเบียน
  3. มีความเบิกบาน พลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีใจแช่มชื่นเบิกบาน สามารถฝึกตัวเองให้มีความสุข ความเจริญ เมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ
  4. มีใจเป็นกลาง มองตามความเป็นจริง โดยวางจิตสม่ำเสมอ มั่นคง เที่ยงตรง พร้อมจะวางตนและปฏิบัติตามหลักการ เหตุผล และความเที่ยงธรรม จัดการกับจิตใจที่ขึ้นๆ ลงๆ จิตใจที่วุ่นวายขาดความหนักแน่น ความมั่นคง
  5. บำเพ็ญการสงเคราะห์ ได้แก่
    • การให้ทาน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือสงเคราะห์ ด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ ทุน หรือทรัพย์สินสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจ และศิลปวิทยา
    • มีปิยวาจา คือ พูดด้วยคำสุภาพ ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจงแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุผล ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจดี สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    • ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม
    • ทำตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ร่วมสุข ร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน ช่วยด้วยความรู้ ช่วยด้วยถ้อยคำ ช่วยด้วยกำลังงาน ช่วยด้วยการร่วมเผชิญและแก้ปัญหา

คำคม

  1. ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เรียกว่ารับผิดชอบ แต่ถ้าทำมากกว่านั้น เรียกว่าน้ำใจ
  2. อยู่ร่วมกันที่สำคัญคือน้ำใจ
  3. อย่าเป็นคนเก่งที่แล้งน้ำใจ แต่จงเป็นคนทั่วไปที่มีน้ำใจและไม่เห็นแก่ตัว
  4. อันน้ำใจไมตรีนั้นดีแท้ อาจช่วยแก้อุปสรรคประจักษ์ผล ถึงอยู่กลางทะเลทรายคลายกังวล เมื่อมีคนชูช่วยด้วยเมตตา
  5. ไมตรีจิตอุปมาวารีใส ชื่นหทัยผู้เดินทางหว่างแดดจ้า หากทุกคนมีน้ำใสในอุรา โลกคงผาสุกสันต์นิรันกาล
  6. คบคนให้หัดซื้อน้ำใจ อย่าหวังเอาแต่ได้ เพราะคำว่า “น้ำใจ” เกิดจากการแบ่งปัน
  7. ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์อยู่ที่การมีน้ำใจ

0 803

บุญราศี เลารา วีกุญญา

เกิดวันที่ 5 เมษายน 1891

มรณะวันที่ 22 มกราคม 1904

เลาราเกิดที่ประเทศชิลี ภายหลังความตายของบิดา เธอและมารดาพร้อมกับน้องสาวได้อพยพ และใช้ชีวิตในประเทศอาร์เจนตินา เธอเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนเล็ก ๆ ที่ฮูนิน เดอ ลอส ไอเลส เธอมีชีวิตอย่างน่าสรรเสริญเป็นตัวอย่างแก่เพื่อนนักเรียนทุกคนในโรงเรียน และเป็นพยานถึงข้อสำคัญแห่งศีลล้างบาป ด้วยความเชื่อมั่นคงและลึกซึ้ง เธอโดดเด่นในความบริสุทธิ์ที่เธอรักษาและป้องกันไว้อย่างเข้มแข็งน่าชม พระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท และพระมารดามารีอาองค์อุปถัมภ์คือศูนย์กลางของชีวิตนำเธอสู่ความศักด์ิสิทธิ์

เธอมีชีวิตเพียงไม่กี่ปี แต่ชีวิตของเธอเต็มเปี่ยมด้วยความรักการให้และการเสียสละถึงขั้นวีรกรรม เพ่ื่อมอบความยินดีแก่ทุกคนเก็บเฉพาะความทุกข์ และการเสียสละสำหรับตัวเอง เธอเป็นวีรชนตัวอย่างของเยาวชนในยุคปัจจุบันแม้มีอายุเพียง 13 ปี ก็็สามารถก้าวลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ได้

0 754

ซิสเตอร์ มาเรีย กรูญอลา
ซิสเตอร์เทเรซา เจดดา
ซิสเตอร์เอนรีเกตตา ซอร์โบเน
ซิสเตอร์ เอวเซเบีย ปาโลมีโน
ซิสเตอร์ เทเรซา วัลเซ
ซิสเตอร์คาร์เมน โมเรโน – ซิสเตอร์อัมปาโร คาร์โบแนล
ซิสเตอร์มาเรีย ตรองกัตตี

 

0 1336

นักบุญดอมินิก เกิดในตระกูลเศรษฐีชั้นสูงในแคว้นกาสตีล  และเป็นผู้มีฝีปากดี ตั้งแต่ยังเยาว์ ท่านได้เข้าเป็นนักบวชและเป็นพระสงฆ์ คำเทศน์ของท่านเป็นที่จับใจประชาชนเป็นอันมาก แต่พระเป็นเจ้าได้เรียกท่านให้ทำงานที่สำคัญกว่า คือการเทศนาให้พวกเฮเรติ๊กในแคว้นลังเกอด็อกกลับใจ การไปเผยแพร่พระคริสตธรรมในประเทศต่างๆ และการตั้งคณะนักบวชเพื่อให้กิจการของท่านวัฒนาถาวรต่อไป ท่านได้ฟังพระสุรเสียงของพระเป็นเจ้า ตัดทุกสิ่งที่ผูกพันท่านไว้กับโลก สมบัติ เกียรติยศ ญาติ พี่น้อง ท่านสวมเสื้อผ้าเนื้อหยาบๆ เดินเท้าเปล่า ขอทานเขากิน และพยายามตัดใจให้ตายต่อตัวเองอย่างเด็ดขาด ด้วยการปฏิเสธตัวเอง และดำเนินชีวิตเพื่อพระเป็นเจ้าเท่านั้น แล้วท่านนักบุญก็ได้รวบรวมเพื่อนนักบวชให้มาทำงานร่วมกัน ท่านปลุกเขาให้มีความเสียสละและไม่เห็นแก่ตัวเช่นเดียวกัน

ท่านนักบุญเคร่งครัดต่อตัวเอง แต่ท่านมีใจเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น โดยเฉพาะพวกที่ตกในลัทธิอัลบิเจนซิสอย่างตาบอด ทรมานหรือฆ่าศัตรูเรื่องศาสนาด้วยดาบและไฟ ได้มีผู้ใช้วิธีปราบพวกนี้ด้วยวิธีต่างๆ แม้กระทั่งใช้อาวุธของนักรบครูเสด แต่ก็ไร้ผล ในที่สุดท่านนักบุญก็ทำงานเอาชนะพวกเขาด้วยความอ่อนโยนและความเมตตา ด้วยคำพูดอันน่าจับใจของท่าน ท่านได้ทำให้ผู้ตาย 3 คนกลับคืนชีพ เพื่อทำงานนี้ได้สำเร็จ ท่านได้ภาวนา จำศีล อ้อนวอนแม่พระ ซึ่งได้สอนท่านให้สวดสายประคำเพื่อเป็นเกียรติแด่โอรสของพระนาง และท่านก็ได้เผยแพร่ความศรัทธานี้ไปทั่วโลก