Authors Posts by user

user

86 POSTS 0 COMMENTS

0 667

 

ศิษย์เก่า       

เนื่องจากนักเรียนมักจะมีความผูกพันกับโรงเรียนที่เคยได้รับการศึกษามา ดังนั้นทุกโรงเรียนจึงพยายามหาโอกาสที่จะเชิญศิษย์เก่าให้มาชุมนุมร่วมกันในโรงเรียน

คณะซาเลเซียนได้จัดให้มีการชุมนุมศิษย์เก่าระดับโลกมาโดยตลอด และได้พยายามที่จะผลักดันให้มีการขยายวงกว้างออกไปอีกจนถึงระดับสมาพันธ์ศิษย์เก่า ต่อมาตามแบบอย่างการฟื้นฟูของสังคายนาวาติกันที่ 2 คณะซาเลเซียนก็รู้สึกเหมือนกับถูกเรียกให้ทำให้มากขึ้นกว่าเดิมในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว คือการชุมนุมศิษย์เก่าระดับท้องถิ่น สหพันธ์ซาเลเซียนระดับแขวงและสมาพันธ์ในระดับคณะ  ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ซาเลเซียนที่ทำงานในประเทศต่างๆ ได้มีส่วนร่วมกับศูนย์กลางด้วย

0 3880

A portrait of Thai King Bhumibol Adulyadej (C) is held up by one of tens of thousands of Thais gathered outside the Anantasamakom Throne Hall as they wait for an address by King Bhumibol Adulyadej at Royal Plaza in Bangkok's historic district on December 5, 2012. Tens of thousands of Thais crowded central Bangkok on December 5 for a rare address by King Bhumibol Adulyadej, the world's longest reigning monarch, as part of celebrations for his 85th birthday.   AFP PHOTO / Christophe ARCHAMBAULT

เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ ต้องการดำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติ ความเชื่อมั่น ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา และเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

บุคคลที่มีค่านิยมหลักประการนี้ จะแสดงออกโดยการยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ในชาติ  ภาคภูมิใจในความเป็นไทย นำหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือไปปฏิบัติ และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

สถาบันทั้ง 3 นี้มีบุญคุณอย่างมาก เพราะชาติ คือ แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ศาสนา คือ คำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ที่สอนให้เราทุกคนเป็นคนดี และพระมหากษัตริย์ คือ ผู้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เพื่อความสงบสุขของพสกนิกรชาวไทย เราทุกคนจึงควรรักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (http://student34366.senior.sw2.ac.th/12prakan/page1.php)

ข้อคิดจากพระคัมภีร์

jesus-christ-wallpapers5ในคริสต์ศาสนา พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ โดยปฏิบัติหน้าที่ความเป็นพลเมืองอย่างซื่อสัตย์สุจริต ในสมัยของพระเยซูเจ้า รัฐบาลโรมันได้ผลิตเหรียญสำหรับใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ด้านหนึ่งของเหรียญเป็นรูปของจักรพรรดิติแบริอุส ซีซาร์ อีกด้านหนึ่งเป็นตราแผ่นดิน ประชาชนตั้งแต่อายุ 14 ปีถึง 65ปี (ในดินแดนที่ถูกยึดครอง) จึงต้องเสียภาษีให้รัฐบาลโรมันด้วยเงินเหรียญที่ผลิตขึ้นนี้ ซึ่งสำหรับชาวยิวชาตินิยมไม่เห็นด้วยกับการเสียภาษีนี้ และพวกเขาได้ถามพระเยซูเจ้าว่า “การเสียภาษีแก่จักรพรรดิซีซาร์เป็นการถูกต้องหรือไม่” พระองค์ทรงตอบอย่างชัดเจนว่า “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซา และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด” (มธ. 22: 21) จากพระวาจาของพระเยซูเจ้า เราเห็นว่าพระองค์ทรงสอนเราให้ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ ยึดมั่นในความถูกต้อง เคารพต่อผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

ในฐานะพลเมืองไทย เราต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง ต้องเสียภาษี ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และดำรงตนเป็นพลเมืองดีของชาติบ้านเมือง ในอีกด้านหนึ่ง ในฐานะคริสตชนเราเป็นประชากรแห่งอาณาจักรพระเจ้า เราต้องแสวงหาและปฏิบัติตามแผนการและพระประสงค์ของพระเจ้า ความรักและการรับใช้พระเจ้าที่เรามีต้องแสดงออกต่อเพื่อนพี่น้อง ต้องไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างหน้าที่ต่อพระเจ้าและบ้านเมืองพระเยซูเจ้าต้องการจะบอกเราถึงพันธกรณีแห่งความยุติธรรม ที่จะต้องคืนแก่ทุกคนในสิ่งที่เป็นของเขา เราไม่มีสิทธิที่จะเอารัดเอาเปรียบ หรือแสวงหาประโยชน์เพื่อตัวเราเองเท่านั้นโดยไม่คิดถึงคนอื่น เพราะทุกคนล้วนเป็นฉายาของพระเจ้า เท่าเทียมกันในเกียรติและศักดิ์ศรี จึงควรได้รับการปฏิบัติต่อกันบนพื้นฐานของความเสมอภาคและยุติธรรม (http://dondaniele.blogspot.com)

ในฐานะนักเรียน เราได้รับการปลูกฝังให้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังปรากฏใน คำปฏิญาณตนของนักเรียน (Student Pledge) ดังนี้

93dbe57292bdee4211c6c779fe1518e0พวกเราเป็นไทย (We are Thai) อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ (We have been living till now ก็เพราะเรามีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (Thanks to our nation, religions and kings) ซึ่งบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ (which our ancestors maintained with blood, flesh and lives) เราต้องสละชีพเพื่อชาติ (We have to be devoted to our country) act05080458p1

เราต้องบำรุงศาสนา (We have to maintain our religions) เราต้องรักษาพระมหากษัตริย์ (We have to pay royalty to our King) เรานักเรียน  จักต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน (We are students; we have to be well-disciplined)  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น (We have to be honest to ourselves and others) เรานักเรียนจะต้องไม่กระทำตนให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น (We are students; we must not disrupt ourselves and others)

 

0 815

ซิสเตอร์อีวอง แรกว๊อท (Sr.Yvonne Reungoat) เกิดวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1945         ที่เมือง Plouenan ประเทศฝรั่งเศส เมื่อจบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเมืองลียอง ก็เป็นครูสอนในโรงเรียนที่เมืองนี้         เป็นเวลา 11 ปี หลังจากที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการิณีเจ้าคณะ แขวงประเทศฝรั่งเศส                                            ในปี 1983 ได้รับตำแหน่งเป็นอธิการิณีเจ้าคณะ

อ่านเพิ่ม

0 8851
    พระพุทธศาสนา (Buddhism) คือ ศาสนาที่ถือว่าธรรมะเป็นความจริงสากล ที่ใครก็ตามหากสิ้นกิเลสก็จะพลได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมีจนตรัสรู้ และสามารถตั้งพุทธบริษัทปัจจุบันขึ้นได้ คือ พระพุทธโคตม ซึ่งเป็นองค์หนึ่งในบรรดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายที่ได้เคยตั้งพุทธบริษัทมาแล้ว และที่จะตั้งต่อไปในอนาคต ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากที่ตรัสรู้แต่ไม่มีบารมีพอให้ตั้งพุทธบริษัทได้ จึงให้ผลเฉพาะตัวเรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้าจึงเห็นได้ว่า จากความสำนึกดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวพุทธมีใจกว้าง เพราะถือเสียว่าธรรมะมิได้มีในพระพุทธศาสนาของพระโคตมเท่านั้น แต่คนดีทั้งหลายก็อาจจะพบธรรมะบางข้อได้ และแม้แต่ชาวพุทธเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงปรารถนาให้แสวงหาและเข้าใจธรรมะด้วยตนเอง พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง คือ ผู้ช่วยเกื้อกูลให้แต่ละคนสามารถพึ่งตนเองในที่สุด “ตนของตนเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง” อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนิกที่แท้จริง คือ ผู้ที่แสวงหาธรรมะด้วยตนเองและพบธรรมะด้วยตนเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พยายามพัฒนาธาตุพุทธะในตัวเอง
ลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนา
    ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ เป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ กล่าวคือ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ทั้งความเป็นจริงและข้อธรรมได้ดีเยี่ยมเป็นพิเศษ เช่น วิเคราะห์จิตได้ละเอียดลอออย่างน่าอัศจรรย์ใจ วิเคราะห์ธรรมะออกเป็นข้อ ๆ อย่างละเอียดสุขุมและประสานสัมพันธ์กันเป็นระบบที่แน่นแฟ้น หากจะพยายามอธิบายธรรมะข้อใดสักข้อหนึ่ง ก็จะต้องอ้างถึงธรรมะข้ออื่นๆ เกี่ยวโยงไปทั้งระบบ วิธีการวิเคราะห์ธรรมะอย่างนี้ บางสำนักของศาสนาฮินดูได้เคยทำมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้เด่นชัดอย่างธรรมะที่สอนกันในพระพุทธศาสนา จึงควรยกย่องได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการวิเคราะห์ และเมื่อกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาไม่สนใจด้านอื่นๆ ทั้งมิได้หมายความเลยไปถึงว่าศาสนาอื่นๆ ไม่รู้จักวิเคราะห์ หามิได้ ต้องการหมายเพียงแต่ว่าพระพุทธศาสนาเด่นกว่าศาสนาอื่นๆ ในด้านวิเคราะห์เท่านั้น และถ้าหากศาสนาต่างๆ จะพึ่งพาอาศัยกันและกันก็พระพุทธศาสนานี่แหละสามารถให้ตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อธรรมะได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ อาจจะบริการด้านอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเด่นชัด เช่น ศาสนาพราหมณ์ในเรื่องจารีตพิธีกรรม ศาสนาอิสลามในเรื่องกฎหมาย เป็นต้น แต่ทั้งนี้แล้วแต่ว่าสมาชิกแต่ละคนของแต่ละศาสนาจะสนใจร่วมมือกันในทางศาสนามากน้อยเพียงใด
บ่อเกิดของพระพุทธศาสนา

แม้ชาวพุทธจะมีความสำนึกว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีมาแล้วมากมายในอดีต และจะมีอีกมากมายต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม คำสอนของอดีตพระพุทธเจ้าไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาได้อีกแล้ว ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะมาในอนาคตก็ยังไม่มีใครรู้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันจึงมาจากคำสอนของพระพุทธโคตมแต่องค์เดียว คำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนา อาจจะเสริมความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า ความรู้ที่พระองค์ทรงรู้จากการตรัสรู้นั้นมีมากราวกับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่พระองค์นำมาสอนสาวกนั้นมีปริมาณเทียบได้กับใบไม้เพียงกำมือเดียว พระองค์ไม่อาจจะสอนได้มากกว่าที่ได้ทรงสอนไว้ ดังนั้น หากมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น ให้ตกลงกันด้วยสังคายนา (ร้องร่วมกัน) คือ ประชุมและลงมติร่วมกัน ส่วนในเรื่องธรรมวินัยปลีกย่อย หากจำเป็นก็ให้ประชุมตกลงปรับปรุงได้ ดังนั้น บ่อเกิดของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งก็คือสังคายนา สังคายนาจึงกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการยอมรับร่วมกันในหมู่ผู้ยอมรับสังคายนาเดียวกัน แต่ก็เป็นทางให้เกิดการแตกนิกายโดยไม่ยอมรับสังคายนาร่วมกัน นิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น เพราะการยอมรับสังคายนาต่างกัน และนิกายต่างกันนั้นก็ยอมรับคัมภีร์และอรรถกถาที่ใช้ตีความคัมภีร์ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธแม้จะต่างนิกายกันก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ทำบุญร่วมกันได้ และร่วมมือในกิจการต่างๆ ได้ ผู้ใดนับถือพระพุทธเจ้าและแม้จะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่น พระพรหม พระอินทร์ ไหว้เจ้า หรือภูตผีต่างๆ ก็ยังถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันกันแต่ประการใด ดังนั้น การที่จะมีบ่อเกิดเพิ่มเติมแตกต่างกันไปบ้าง ตราบใดที่ยังยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันเป็นส่วนมาก ก็ไม่ถือว่าต้องแตกแยกกัน

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้
นิกายมหายาน

พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่า แค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้พระภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มที่แยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางลัทธิและนิกาย และไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดลงไปว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ที่แน่ชัดก็คือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศต.1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกของฝ่ายเถรวาท

ฝ่ายมหายานมิได้ปฎิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดมีความสำนึกร่วมขึ้นมาว่า นามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระ ไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญไปโดยการเผาเป็นเพียงภาพมายา พระธรรมกายของพระองค์อันเป็นธาตุพุทธะบริสุทธิ์ยังคงอยู่ต่อไป มนุษย์ทุกคนมีธาตุพุทธะร่วมกับพระพุทธเจ้า หากมีกิเลสบดบังธาตุพุทธะก็ไม่ปรากฏ กิเลสเบาบางลงเท่าใดธาตุพุทธะก็จะปรากฏมากขึ้นเท่านั้น มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและมีความสามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า หากได้ฝึกฝนชำระจิตใจจนบริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยเมตตาบารมี พระโพธิสัตว์จึงมีมากมาย พระโพธิสัตว์ทุกองค์ย่อมเสริมงานของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระโพธิสัตว์จึงมีน้ำหนักเท่ากับพระไตรปิฎก เมื่อสำนึกเช่นนี้ ฝ่ายมหายานจึงมีคัมภีร์ในระดับเดียวกับพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นอีกมากและอาจจะเพิ่มต่อไปได้อีก หากยอมรับหรือมีศรัทธาต่อพระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกก็ย่อมจะผิดเพี้ยนกันออกไปได้ ทำให้มีลัทธิต่างๆ มากมายในนิกายมหายาน และอาจจะเกิดใหม่ต่อไปได้อีก แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกในศาสนาหรือนิกาย เพราะทุกลัทธิย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน ด้วยเหตุผลเช่นนี้แหละฝ่ายมหายานจึงภูมิใจว่านิกายของตนใจกว้าง เป็นยานใหญ่ สามารถบรรทุกคนได้มาก และบันดาลใจให้ผู้มีจิตศรัทธาบำเพ็ญเมตตาบารมีได้อย่างกว้างขวาง อย่างที่มูลนิธิหัวเฉียวแห่งประเทศไทยพิสูจน์ตัวเองให้เห็นอยู่

การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนา
    ผู้ใดสนใจคงได้ศึกษาตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนามาแล้วไม่มากก็น้อย จนพอจะสังเกตได้ว่า เมื่อกล่าวถึงธรรมะข้อใดในพระพุทธศาสนา ก็มักจะไม่กล่าวลอยๆ แต่จะต้องมีจำนวนเลขกำกับแสดงการวิเคราะห์หรือการจำแนกธรรมด้วยเสมอ เช่น อริยสัจ 4, มรรค 8, ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10, ศีล 227, มงคล 38, กรรมฐาน 40, เจตสิก 52, จิต 89, จิต121 เป็นต้นให้สังเกตด้วยว่า การวิเคราะห์ข้อธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมิได้วิเคราะห์ชั้นเดียวแล้วจบ แต่มีการวิเคราะห์ต่อๆ ไปอีกหลายชั้นหลายเชิงเกี่ยวโยงกันทั้งหมด ไม่ใช่เหมือนสายโซ่ แต่เหมือนอวนผืนใหญ่ที่ตาทุกตาของอวนมีสายโยงถึงกันได้ทั้งหมด จะขอยกให้ดูเป็นตัวอย่างการศึกษาเท่านั้น เช่น การวิเคราะห์จิต และเจตสิก เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการมองตน รู้ตน และพัฒนาตน ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์ธรรมะเรื่องใดเพิ่มเติมอีกเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ

0 7639

BUDDHA_BLOSSOM_by_VISHNU108

พระพุทธศาสนามุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ) อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง (ธัมมวิจยะ) เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี (อิทัปปัจจยตา) จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตาม กฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้ ชาติต่อๆ ไป (ด้วยการสั่งสมบุญบารมี) ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา
หลักคำสอนในพุทธศาสนามีทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรม
            หลักจริยธรรม
            ความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักบุญคุณและตอบแทน อันเป็นหลักธรรมพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์ เพื่อการดำรงอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต่อกันด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อกัน
            หลักคุณธรรม
            พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนและสังคมดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน ด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อเพื่อนร่วมโลก ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นประสบความสุขในทางที่เป็นกุศล หรือประกอบเหตุแห่งสุข) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตามกรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน รวมถึงการให้อภัยผู้อื่น) และการปราศจากอคติ
            หลักศีลธรรม
            คือ หลักคำสอนสำคัญของศาสนา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ คือ ” การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
            หลักปรมัตถธรรม
            พุทธศาสนา สอน “อริยสัจ 4″ หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
            1. ทุกข์ที่ทำให้เราเข้าใจปัญหาและลักษณะของปัญหา
            2. สมุทัยสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
            3. นิโรธความดับแห่งทุกข์
           4. มรรควิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์
ความจริงเหล่านี้เป็นสัจธรรมอันจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติที่ตั้งอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่ออธิบายคำสอนสำคัญโดยลำดับตามแนวอริยสัจ ได้แก่
         สภาพแห่งทุกข์ (ทุกข์)
         ได้แก่ ไตรลักษณ์ (หลักอภิปรัชญาของพุทธศาสนา) ลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติที่เป็นสากลอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่ พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะสากลแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎธรรมดา อันได้แก่
         1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป)
         2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
         3. อนัตตา (ความไม่มีแก่น สาระ ให้ถือเอาเป็นตัวตน ของเราและของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)
          และได้ค้นพบว่า นอกจากการ แก่ เจ็บ และตาย เป็นทุกข์ (ซึ่งมีในหลักคำสอนของศาสนาอื่น) แล้ว ยังสอนว่า การเกิดก็นับเป็นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนานั้นปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่า โลกนี้เกิดขึ้นจาก กฎแห่งธรรมชาติ ( นิยาม ) 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) หรือมีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ อากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่างๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือ
กฎสมตา กฎวัฏฏตาและกฎชีวิตา ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ ( เซลล์) กฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) การมีนามธาตุต่างๆ ที่ประกอบกันตามกระบวนการเป็นจิต ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) คือ
          1. อนิจจัง (ความไม่แน่นอน) ทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัด ทำให้เกิด กฎแห่งวัฏจักร (วัฏฏตา) สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ เพราะกฎแห่งเหตุผลทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตนเหมือนพ่อแม่ตน ความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย กฎวัฏฏตาทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อที่ปิดบังอนิจจัง
          2. ทุกขัง (ความไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ตลอดกาล) คือ สิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องระเบิดอยู่ตลอดเวลา อย่าง ลมต้องพัด เปลือกโลกต้องเคลื่อน ทำให้มีกฎแห่งการปรับสมดุล (สมตา ) เช่น เรานอนเฉยๆ ต้องขยับ หรือวิ่งมากๆ ต้องหยุด ความทุกข์ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของสัตว์ พืช เช่น พืชที่ปลูกถี่ๆ ย่อมแย่งกันสูงเพื่อแย่งแสงอาทิตย์ในการอยู่รอด หรือการปรับสมดุลจึงเกิดชีวิต กฎสมตา ทำให้เกิดอิริยาบถที่ปิดบังทุกขัง
           3. อนัตตา (สิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง ดูเหมือนมีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการผสมผสาน ทำให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างร่างกายของเราย่อมเกิดจากความเกี่ยวข้องกันเล็กๆ น้อย และเพิ่มขึ้นซับซ้อนขึ้น เมื่อสิ่งต่างๆ มีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ ทำให้เกิดกฎแห่งหน้าที่ (ชีวิตา) เช่น ตับย่อมทำหน้าที่ของตับ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่ อันเป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายของเราย่อมแตกสลายไปราวกับอากาศธาตุ กฎชีวิตาทำให้เกิดฆนะ รูปร่าง หรือการเป็นก้อนๆ ที่ปิดบังอนัตตา
            เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งอิสรเสรีภาพ ด้วยการสร้าง “ปัญญา″ ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อันสูงสุด คือ นิพพาน คือ การไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ “หมดการยึดถือ” จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)

0 1052
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (ที่ 1) ประสูติในประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่ชาวลาตินอเมริกันและพระลัทธิเยซูอิตได้ดำรงตำแหน่ง ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก…

“ดูเหมือนว่าเหล่าพี่น้องคาร์ดินัลจะต้องวนไปสุดขอบโลกเพื่อคัดเลือกสันตะปาปาทีเดียว” พระสันตะปาปาฟรานซิส ตรัสติดตลกต่อหน้าสาวก ที่มารวมตัวกันเต็มจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ในวาติกัน ขัดกับภาพลักษณ์ของพระองค์ ซึ่งถูกเรียกว่า คาร์ดินัลผู้ไม่เคยยิ้ม

 

 

พระสันตะปาปาฟรานซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบอร์โกกลิโอ ประสูติเมื่อ 17 ธ.ค. 1936 ในกรุงบัวโนสไอเรส และมีเชื้อสายอิตาเลียน บวชเป็นพระลัทธิเยซูอิตในนิกายโรมันคาทอลิกเมื่อปี 1969 เคยศึกษาเล่าเรียนในประเทศอาร์เจนตินาและเยอรมนี

พระองค์ได้รับสมณศักดิ์เป็นบิชอปเมื่อปี 1992 ก่อนที่จะได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น อาร์คบิชอปแห่งบัวโนสไอเรสในปี 1998 โดยในการประชุมลับเพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาครั้งก่อนเมื่อปี 2005 พระองค์เป็นหนึ่งในผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกมากที่สุด แต่สุดท้ายที่ประชุมลับโหวตเลือกคาร์ดินัล โยเซฟ ริทชิงเงอร์ ซึ่งได้เป็นพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

ในฐานะคาร์ดินัล การเทศนาของพระองค์สร้างผลกระทบด้านต่างๆ ในอาร์เจตินาได้เสมอ พระองค์มักพูดย้ำถึงเรื่องความสามัคคีในสังคม และกล่าวโจมตีรัฐบาลอาร์เจนตินาโดยอ้อมว่า ไม่ให้ความสนใจเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม

 

พระสันตะปาปาฟรานซิส หรือคาร์ดินัลฮอร์เก มาริโอ เบอร์โกกลิโอ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ชีวิตอย่าสมถะ โดยฟรานเชสกา อัมโบรเกตติ ผู้เขียนหนังสือ อัตชีวประวัติของพระองค์เผยว่า พระองค์ดำเนินชีวิตด้วยความเข้มงวดและจริงจัง พระองค์เสด็จโดยรถไฟใต้ดิน รถประจำทางเหมือนคนทั่วไป และโดยสารเครื่องบินชั้นประหยัดเมื่อต้องการเสด็จไปกรุงโรม

ที่ประทับส่วนพระองค์ในกรุงบัวโนสไอเรส เป็นเพียงห้องชุดธรรมดาในอาคารซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนักบวช และตั้งอยู่ใกล้โบสถ์ และเมื่ออยู่ในกรุงโรมพระองค์ชอบสวมเสื้อคลุมสีดำธรรมดา มากกว่าชุดคลุมสีม่วงแดง ประจำตำแหน่งคาร์ดินัล และกล่าวกันว่า ชุดคลุมคาร์ดินัลที่ประองค์ใช้อยู่ เป็นของตกทอดจากอาร์คบิชอปแห่งบัวโนสไอเรสองค์ก่อนด้วย

ผู้สันทัดกรณีหลายคนมองว่า คาร์ดินัลฮอร์เก มาริโอ เบอร์โกกลิโอ ไม่เหมาะจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสันตะปาปาต่อจากพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เนื่องจากพระองค์มีอายุถึง 76 พรรษา ซึ่งน้อยกว่าเมื่อครั้งพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้รับเลือกเมื่อปี 2005 เพียง 2 พรรษา

 

 

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ โดยพระสันตะปาปาฟรานซิส เหลือปอดเพียงข้างเดียวเท่านั้น เนื่องจากในวัยเด็กพระองค์มีอาการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรง โดยไม่มียารักษาเหมือนในปัจจุบัน จนกระทั้งการติดเชื้อเริ่มลุกลาม ทำให้แพทย์ตัดสินใจตัดปอดออกหนึ่งข้างเพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อลุกลามมากขึ้น

เรื่องดังกล่าวทำให้พระสันตะปาปาฟรานซิส มีประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจด้อยกว่าคนทั่วไปที่มีปอด 2 ข้าง ส่งผลให้มีโอกาสป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือกระทั่งโรคปอดบวมมากกว่าปกติ แต่ ดร.โรนัลด์ คริสตัล ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของศูนย์พยาบาลเวลล์ คอร์เนล ในนิวยอร์ก ระบุว่า ตราบเท่าที่พระสันตะปาปาคนที่ 266 เฝ้าระวังการติดเชื้อเป็นพิเศษ รวมถึงรับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม และฉีดยากันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เรื่องสุขภาพก็ไม่ใช่เรื่องน่าห่วงอีกต่อไป

เครดิต : http://www.thairath.co.th/content/332433

0 666

foodwomen1-8-1811

 

ปลาแซลมอน หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามชอบ           พริกขี้หนู หั่นเล็ก ๆ             ตะไคร้ ซอยเป็นเส้น ๆ             มะนาวประมาณ 1-2 ลูกตามชอบ             กระเทียมจีน 4 กลีบ ซอยละเอียด หรือตามชอบ             ต้นหอม ก็หั่นเล็ก ๆ เช่นกัน             หัวหอมแดงซอย             เครื่องปรุง น้ำปลา น้ำตาล เกลือ