ความบ่อยเหลือเกิน เมื่อคนหนึ่งพูดว่า “อา! ฉันไม่อาจจะให้อภัยเขาได้เลย” เขาคิดว่า “ฉันไม่อาจลืมเรื่องของเขา

เป็นอันขาด”เกิดสับสนบ่อยที่สุดคือเอาการอภัยปะปนกับการลืม การอภัยและการลืมเป็นคนละเรื่องกัน การลืมไม่ใช่การอภัย ไม่ใช่บีบฟองน้ำหรือเปิดหน้าหนังสือประหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 

ถ้าหากเราอภัยทำให้ผู้กระทำล่วงเกินสำนึกถึงศักดิ์ศรี การลืมก็ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใดเลย ผู้เขียนบทเพลงสดุดีกล่าวว่า “ความผิดอยู่ต่อหน้าข้าพเจ้าเสมอไป” ฉะนั้นเราให้อภัยจึงไม่ใช่เราลืม แต่ตรงกันข้าม เรารับอดีตเพื่อเปลี่ยนแปลงมัน

บางคนยอมตัดขาดกับผู้ล่วงเกิน ลืมเขา ปล่อยให้ทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อยไปกับเวลา นี่ไม่ใช่การให้อภัยแต่อย่างใด ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยโรค เพื่อรู้ว่าบาดแผลที่ลืมไปแล้วยังมีแผลเป็นที่รักษาไม่หาย ถ้าเราลืมช่วยให้หายโกรธได้ และเราไม่อยากพยาบาทอีก เราก็ไม่ละทิ้งอนาคตได้เลย

ยิ่งกว่านั้น การลืมทำให้เราตัดขาดไม่ติดต่อกับผู้ล่วงเกิน เราพยายามลืมเขาเด็ดขาด แต่ใครหรือ อาจอภัยความผิดที่ได้ขจัดให้หายไปจากความจำได้ ไม่มีอะไรชั่วร้ายยิ่งกว่านิ่งเงียบ เราขาดการติดต่อกับผู้ล่วงเกิน เหยื่อก็มีความจำเป็นรู้จักกับผู้ล่วงเกินพบเขา เฝ้าจับดูใบหน้าและคำพูดของเขาพบสัญญาณความสำนึกผิด

การอภัยของคริสตชนไม่ละทิ้งความจำ เพราะฉะนั้นในเรื่องของสงครามนั้น พระศาสนจักรพึงระลึกว่ามนุษย์ทำผิดเพราะความโฉดเขลา เขาจึงอาจรับผิดชอบ ในประเด็นนี้พระคาร์ดินัลองค์หนึ่งกล่าวว่า “ในทางการปฏิบัติ การอภัยโทษในนามพระคริสตเจ้า เรากระทำในศีลแก้บาป มีเงื่อนไขจำเป็นเพื่อให้และได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ คือมีการสารภาพความผิด การสำนึกผิด การชดเชยความผิด” ท่านเสริมอีกว่า “ได้รับอภัยโทษทางศีลศักดิ์สิทธิ์แล้วยังต้องปฏิบัติตามความยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ หน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติต่อพระเจ้าเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อสังคมด้วย”

ความทรงจำที่หล่อเลี้ยงการแก้แค้น เราอย่าเข้าใจสับสนเรื่องการอภัยกับการลืม แต่ต้องรักษาความจำแบบไหนไว้ ความจำชนิดฝังใจในความรู้สึกอาจป่วยและเป็นสิ่งทรมานภายในก็ได้

ในกรณีนี้ นิตเช่เขียนไว้อย่างมีเหตุผลว่า หากใครไม่สามารถลืมความผิดของผู้อื่นแล้วเขาไม่มีความสุข ความสดชื่น ความหวัง ความภูมิใจ ความยินดีแม้ชั่วขณะได้

ถูกแล้ว ความจำกลายเป็นเรื่องเหลือทน ถ้าหากใครเก็บรักษาความปรารถนาแก้แค้น ขอเล่าเรื่องสุดเศร้าเสมอเรื่องที่เกิดขึ้นที่เกาะคอรชิกาในศควรรษที่ 18

สมัยนั้น ถ้าคนหนึ่งในครอบครัวฆ่าคนอื่น พ่อหรือแม่ต้องรับผิดชอบ ต้องถูกลงโทษประหาร ชดใช้กรรมที่ลูกทำ ความทรงจำรักษาความเคียดแค้น การแก้แค้นเป็นไปอย่างเปิดเผยมีพิธีรีตรอง ถือว่าเป็นหน้าที่กตัญญูรู้คุณต่อผู้ตาย การแก้แค้นนี้หมุนเวียนไปและขังครอบครองไว้ในวงจรอุบาทว์

“ถ้าเจ้าระลึกว่าพี่น้องทำผิดต่อเจ้า″

ตามธรรมเนียมของคริสตชน ไม่ต้องสับสนในเรื่องนี้ แต่ให้ถือความจำเป็นพื้นฐาน ค่ำวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ก่อนสิ้นพระชนม์ พระเยซูเจ้าได้ตรัสแก่สาวกมิใช่หรือว่า “จงทำสิ่งนี้เป็นที่ระลึกถึงเรา″ แล้วทำไมเราไม่สนับสนุนการลืมเล่า

พระเยซูเองเชื่อมโยงความทรงจำและความสำนึกถึงบาปเข้าด้วยกัน “เมื่อท่านไปถวายเครื่องบูชายังพระท่าน ถ้าท่านระลึกว่าพี่น้องมีเรื่องขุ่นหมองข้องใจกับท่าน จงละเครื่องบูชาไว้แล้วกลับไปคืนดีกับพี่น้องเสียก่อนแล้วจึงกลับมาถวายเครื่องบูชา″ เพื่อเราได้รับการอภัย เราต้องสำนึกถึงบาปของเราด้วย สนใจเรื่องของตนเองเสียก่อน

ความทรงจำมีประโยชน์ไม่ใช่เพื่อแก้แค้นหรือการที่มีความผิด เราต้องจดจำอนาคตไม่ใช่เพื่อเอาอกเอาใจ เพื่อหล่อเลี้ยงความขมขื่นและความแค้นใจ แต่เพื่อเจริญชีวิตปัจจุบันและก้าวไปสู่อนาคตด้วยความมั่นใจต่อไป