…กล้าและริเริ่มเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา”

cq5dam.thumbnail.cropped.1000.563

เมื่อวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2019 ในโอกาสพบคริสตชนทุกวันพุธ (General Audience) ณ ลานวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม พระสันตะปาปาฟรังซิสได้สรุปบทคำสอนของท่านในคำภาวนาของพระเจ้าหรือที่เรียกว่า “พระบิดา” ที่ท่านได้เริ่มเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม

ท่านได้ยกตัวอย่างในพันธสัญญาใหม่ที่บทสวดของพระเยซูเจ้ามีการรำลึกถึง”พระบิดา” อาทิ พระวรสารนักบุญมาระโก ที่พระเยซูเจ้าทูลว่า “อับบา (พ่อ) ทุกสิ่งเป็นได้สำหรับพระองค์ ขอโปรดให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์เถิด แต่อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” (มาระโก14:36) เราได้เห็นถึงความเชื่อของพระเยซูเจ้าที่มีต่อพระบิดาท่ามกลางความมืดมิด ความกลัว ความเจ็บปวดรวดร้าวในสวนเกทเสมนี หรือ “และเมื่อพวกท่านยืนอธิษฐานอยู่ ถ้าพวกท่านมีเรื่องกับใคร จงยกโทษให้คนนั้น เพื่อว่าพระบิดาของพวกท่านผู้สถิตในสวรรค์ จะทรงยกโทษความผิดของพวกท่านด้วย” (มาระโก11:25)

แม้พระสันตะปาปายังสังเกตว่าบางครั้งพระเยซูเจ้าได้ใช้คำที่ดูห่างไกลจากคำว่า”พระบิดา” เช่น ตอนที่พระเยซูเจ้ากำลังจะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ท่านร้องว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย” (มัทธิว27:46) คำว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์” แสดงถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อพระบิดา ความเชื่อ และคำภาวนา

พระสันตะปาปาฟรังซิสยังกล่าวอีกว่าในพันธสัญญาใหม่ ตัวละครตัวแรกที่ปรากฎอยู่ในบทสวดของคริสตชนทุกคนคือพระจิตเจ้า เราไม่สามารถภาวนาโดยไม่มีพระจิตเจ้าได้เลย พระจิตเจ้าช่วยเชื่อมหัวใจของคริสตชนแต่ละคนให้เข้าหาพระเจ้า

เพราะฉะนั้นคริสตชนทุกคนสามารถภาวนาได้ในทุกกรณีและท่านได้เน้นย้ำว่าเราควรรำลึกถึงพี่น้อง มนุษยชาติทุกคนที่อยู่ภายใต้พระบิดา รวมไปถึงคนยากจนทั้งหลายด้วยเพื่อที่เขาทุกคนจะไม่มีการแบ่งแยกและได้รับความรักจากพระบิดาเหมือนๆกัน ซึ่งพระสันตะปาปาได้กล่าวว่า ในการที่จะภาวนาอย่างแท้จริง เราควรถ่อมตัวลงมาเพื่อว่าพระจิตเจ้าจะได้เข้ามายังเราและนำเราไปสู่คำภาวนา
แปลและเรียบเรียงโดย เมย์… ศรีกิจพานิช

https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2019-05/pope-francis-general-audience-lords-prayer-our-father-conclusion.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *